จิตวิทยาการเรียนรู้
ความหมายของการเรียนรู้
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้
เช่น
คิมเบิล (
Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้
เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม
อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก
ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี
หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์
"
คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้
เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง
อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third
New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ
อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย
บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓
ด้าน ดังนี้
๑.
ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท
ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์
๒.
ด้านเจตพิสัย (Affective Domain )
คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก
ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
๓.
ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ
ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว
การกระทำ การปฏิบัติงาน
การมีทักษะและความชำนาญ
หลักการที่สำคัญสำหรับครู
Mamchak
and Mamchak (1981) ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่เป็นรูปธรรม
เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างครูและนักเรียน
การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน
-
ไม่รื้อฟื้นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น
-
ให้ความยุติธรรมแก่เด็ก อย่างเท่าเทียมกัน
-
ตั้งเป้าหมายที่นักเรียนสามารถทำได้
-
ครูควรบอกถึงข้อจำกัดของตน
-
ครูควรทราบข้อจำกัดของเด็กแต่ละคน
-
ครูควรใส่ใจเด็กทุกคน
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
- ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
- ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น
แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
- ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
- ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ
รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น